top of page

4RESTER : Application เพื่อการอนุรักษ์ต้นไม้ในเมือง

Updated: Feb 21, 2023

“ ทุกคนบอกว่ารักต้นไม้ แต่ทำไมเรายังเห็นต้นไม้ในเมือง ถูกตัดเหลือแต่ตอ"



อแต่ตอ

นั่นเป็นปัญหาสำคัญของการวิจัยเรื่อง “ การสำรวจและวิเคราะห์บริบทการจัดการพื้นที่สีเขียวในเมืองนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการ Urban Forestry “ โดย อ.ดร.ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ และคณะ*** ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)

"เราเห็นเมืองทุกเมือง ยังมีการจัดการเรื่องต้นไม้ที่ไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน เราจะเห็นต้นไม้ในเมืองบางต้นถูกตัดเหลือแต่ตอ ซึ่งทุกครั้งที่เจอเราจะรู้สึกเจ็บปวด ทำไมไม่ตัดแต่งให้สวยงาม หรือบางที่เป็นป่าก็ไปตัดเสียจนเป็นเขาหัวโล้น ก็เลยอยากแก้ปัญหาตรงนี้ เราน่าจะพัฒนาเครื่องมือบางอย่างที่จะให้คนกลับมาสนใจเรื่องพวกนี้ เราไม่อยากให้ภาครัฐพัฒนาอะไรหรอก แต่เราอยากให้คนในเมืองหันมาสนใจเรื่องพวกนี้ ทำอย่างไรจะให้คนเห็นต้นไม้ตลอดเวลา เห็นว่าต้นนี้โดนตัดแล้ว ถ้าโดนตัดมันจะแจ้งเตือน หรือบอกข้อมูลว่าตอนนี้ต้นไม้ในเมืองเหลือกี่ต้น สภาพเป็นอย่างไร ” ผู้วิจัยกล่าว



บริเวณหน้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่มา : ไม่ประสงค์ออกนาม

ต้นไม้ใต้สายไฟโดนบั่นยอด หน้ากรมที่ดินในเมืองทองธานี ที่มา : Pisan


งานวิจัยชิ้นนี้จึงทำการสร้างแอปพลิเคชั่นขึ้นบนโทรศัพท์มือถือ ตั้งชื่อว่า 4RESTER ใช้เป็นเครื่องมือให้ประชาชนทั่วไป สามารถทำการเก็บข้อมูลไม้ยืนต้นในเมือง สามารถถ่ายรูป ระบุพิกัด ชนิดพันธุ์ ขนาด และสุขภาพของไม้ยืนต้นได้ เมื่อช่วยกันเก็บคนละไม้ละมือ เราจะมีชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตเราอาจมีการติดเซนเซอร์ที่ต้นไม้เพื่อแจ้งเตือนหากมีแรงสั่นสะเทือนจากการตัดเกิดขึ้น





เริ่มต้นเราก็ใช้วิธีการไปศึกษาข้อมูลก่อน ทำความเข้าใจปัญหา แล้วก็พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นขึ้นมา แล้วก็ทดสอบ ตอนนี้แอพพลิเคชั่นนี้เสร็จแล้ว ชื่อ 4rester โหลดในแอนดรอยด์ และ IOS ได้แล้ว แล้วเราก็ทดสอบกับคนในเมือง และขอคนในเทศบาลเข้ามาช่วย ตอนแรกเราให้นักศึกษา และประชาชน ไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เขตเมืองเก่านครราชสีมา เก็บด้วยมือก่อน เราเก็บได้ 500 ต้น ใช้เวลาเกือบ 2 เดือน แต่พอทำแอพพลิเคชั่นเสร็จ เราไปเก็บอีกรอบ ใช้เวลา 3 วัน ก็เก็บได้ 2,000 กว่าต้น พอเปิดดูเราก็สามารถดูได้ว่า ต้นคูน ต้นตะแบก ต้นสาธร มีกี่ต้นในเมือง เราสามารถคำนวณได้ว่าอัตราของการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มีเท่าไหร่ เขาปล่อยออกซิเจนออกมาเท่าไหร่ เพราะต้นไม้แต่ละต้นดูดซับไม่เท่ากัน ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เรารู้เลยว่าคุณภาพอากาศของเราดีหรือไม่ดี ต้นไม้ที่ปลูกไว้เพียงพอหรือไม่”


ขณะนี้งานวิจัยได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว พบว่า ในเขตเมืองเก่านครราชสีมา พื้นที่ 1,166ไร่ มีไม้ยืนต้นทั้งหมด 2,166 ต้น มีชนิดพันธุ์ที่หลากหลาย เช่น คูณ ตะแบก สาธร หางนกยูง ชงโค ฯลฯ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการดูดซับกาซคาร์บอนไดออกไซต์ และอัตราการปล่อยกาซออกซิเจนแล้ว พบว่าในเขตเมืองเก่าควรมีต้นไม้ 5,155 ต้น นั่นหมายถึงเราจำเป็นต้องปลูกขึ้นมาเพิ่มอีก ถึง 3,345 ต้นเพื่อให้เมืองมีคุณภาพอากาศที่ดีได้มาตรฐาน ชนิดพันธุ์ของต้นไม้ที่จะนำมาปลูกจะต้องพิจารณาทั้งในเรื่องของ ความเป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ความคงทนและการบำรุงรักษาได้ง่าย




การพัฒนาในอนาคตของแอปพลิเคชั่น FORESTER คือ (1) การพัฒนาระบบ Image Processing ให้สามารถระบุชนิดพันธุ์ของไม้ยืนต้นได้จากการถ่ายรูป เพื่อแก้ปัญหาผู้ใช้ไม่รู้จักชนิดพันธุ์ของต้นไม้ทำให้การใช้งานสะดวกขึ้น และ (2) การพัฒนาระบบเซนเซอร์ติดที่ไม้ยืนต้น สามารถอ่านค่า PM2.5 อุณหภูมิ ความชื้นและแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการตัดได้

แอปพลิเคชั่นสามารถดาวโหลดได้แล้วทั้งใน ระบบ Androids และ IOS :






ผู้ร่วมวิจัย อ.ดร. ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ผศ.ดร. นิธิ ลิศนันท์ อาจารย์โปรแกรมวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อ.วีรพล จงเจริญใจ ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน สมคมสถาปนิกอีสานในพระบรมราชนูปถัมภ์ นายณริศร์ สิทธิภู่ประเสริฐ บริษัท โคราชพัฒนาเมือง จำกัด












98 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page